Paul Kasemsap

พรพิพัฒน์ เกษมทรัพย์

Paul Kasemsap

~wondering how plants turn air+water+dirt into food!

1 November 2020 -

ชีวิตติดโชค

First published in Thai on my social media as a brief summary, complemented with my opinions (สรุปความพร้อมสอดแทรกความเห็น)

ศาสตราจารย์แบร์รี่ ชวอรทซ์ นักจิตวิทยาระดับโลกชี้ให้เห็นถึงบทบาทของ “โชคชะตา” ในชีวิตของเราทุกคน


จริงอยู่ ที่ความสำเร็จของเราขึ้นอยู่กับความสามารถและความมุมานะพยายามเป็นสำคัญ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความโชคดี ก็มีผลให้ ชีวิตของเราแต่ละคนประสบความสำเร็จได้…ไม่เท่ากัน

ตัวอย่างสำคัญที่ศาสตราจารย์เล่าถึง คือการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ถึงแม้ว่าผู้สมัครจะเก่งสักเพียงใด ก็มีที่นั่งไม่เพียงพอให้สำหรับทุกคน ด้วยเหตุนี้ สถาบันการศึกษาชั้นนำ จึงต้อง “ยกระดับ” มาตรฐานการรับนักศึกษาให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้จำนวนที่ว่างที่มี เหลือพอดีกับผู้มีคุณสมบัติคู่ควร ผลที่ตามมาคือ เหล่าเด็กนักเรียนต้องตกเป็นเหยื่อในสนามแข่งขัน การตะเกียกตะกายผลักตัวเองให้ขึ้นไปอยู่สูงกว่าระดับที่ดีพอ…นั้นไม่พออีกต่อไป เพราะยังต้องมีดีกว่า “ผู้เข้าแข่งขัน” คนอื่น ๆ ด้วย

ศาสตราจารย์เสนอให้แก้ไขปัญหานี้ด้วยการ “สุ่ม” – นั่นคือเปิดโอกาสให้โชคชะตาเข้ามาร่วมตัดสินก้าวต่อไปของชีวิต เช่น การจับฉลากเลือกนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ “ดีพอ” ให้ได้เข้าเรียน

วิธีนี้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้ทำให้ทุกคนมีที่เรียนได้ครบตามคาดหวัง แต่ก็จะช่วยลดการแข็งขัน ความกดดันของเด็ก ๆ และแสดงว่าเราเข้าใจยอมรับจุดอ่อนของ “ระบบ”

การยอมรับว่า ความสำเร็จของเราเกิดจากทั้งความพยายาม และโชคชะตาที่เกื้อหนุนไปด้วยกัน จะทำให้เรามองเห็น และเข้าใจ “ความ(อ)ยุติธรรม” ในสังคมได้ชัดเจนขึ้น

เพราะท้ายที่สุดแล้ว ถึงแม้ว่าทุก ๆ คนจะมีโชคไม่เท่ากัน แต่ทุกคนสมควรได้รับโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ

สิ่งสำคัญคือ การที่ผู้ “โชคดี(กว่า)” ทุกท่าน ตระหนักถึงโอกาสที่ท่านได้รับ และความรับผิดชอบที่ท่านมีต่อผู้ที่ “ด้อยโอกาส และอับโชค” กว่าท่าน

” …when we don’t know whether we’re going to enter society at the top or at the bottom, what we want is a society that is pretty damn equal, so that even the unlucky will be able to live decent, meaningful and satisfying lives.”

มาร่วมกันใช้บทบาทหน้าที่ในสังคมที่เราแต่ละคนมี ช่วยสร้างสรรค์สังคม ที่ทำให้แม้กระทั่งสมาชิกในสังคมที่ “โชคร้ายที่สุด” ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้!

category: inspirations 
tag: socialscience  tedtalks  economics  ภาษาไทย 

Read more thoughts: