Paul Kasemsap

พรพิพัฒน์ เกษมทรัพย์

Paul Kasemsap

~wondering how plants turn air+water+dirt into food!

25 March 2013 -

Effect of Drought Stress on Chlorophyll Fluorescence and Net CO2 Exchange Rate of Vanilla planifolia Jacks. ex Andrews

อิทธิพลของการขาดน้ำต่อการเรืองแสงของคลอโรฟิลล์ และอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊ส CO2 สุทธิของวานิลลา

Kasemsap, P. 2013. Effect of drought stress on chlorophyll fluorescence and net CO2 exchange rate of Vanilla planifolia Jacks. ex Andrews’s leaf. Special problems. [Original full text in Thai; บทความเป็นภาษาไทย]

fig1

บทคัดย่อ

การศึกษาอิทธิพลของการขาดน้ำต่อการเรืองแสงของคลอโรฟิลล์ และอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊ส CO2 สุทธิของวานิลลา (Vanilla planifolia Jacks. ex Andrews) ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยเตรียมต้นวานิลลาจากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และย้ายออกปลูกยังโรงเรือนกันฝนเป็นระยะเวลา 12 เดือนก่อนให้สิ่งทดลอง คือปริมาณน้ำที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ 1.ปริมาณมาก 2.ปริมาณปานกลาง และ 3.ไม่ให้น้ำ สังเกต และตรวจวัดการเรืองแสงของคลอโรฟิลล์ อัตราการแลกเปลี่ยน CO2 สุทธิ ความเขียว และเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปชั่งน้ำหนัก และวัดพื้นที่ของใบวานิลลา ในช่วงเช้าของวันที่ 35 และ 65 หลังให้สิ่งทดลอง ผลการทดลองพบว่า เมื่อจำแนกตามกลไกการตอบสนองต่อการขาดน้ำ วานิลลาจัดเป็นพืชที่มี Desiccation Tolerance โดยการขาดน้ำมีอิทธิพลทำให้ค่า Photosystem II efficiency (Fv/Fm, Fv’/Fm’) และค่า Performance index ของใบวานิลลาที่ไม่ได้รับน้ำมีค่าน้อยกว่าใบวานิลลาที่ได้รับน้ำปริมาณปานกลาง และปริมาณมาก ในขณะที่อัตราการแลกเปลี่ยนแก๊ส CO2 สุทธิของใบวานิลลาที่ได้รับน้ำปริมาณต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะวานิลลาเป็นกล้วยไม้ จึงมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบ Crassulasian acid metabolism ซึ่งปิดปากใบเวลากลางวันในช่วงที่เก็บบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ การขาดน้ำยังทำให้ น้ำหนัก ความชื้น และพื้นที่ใบวานิลลาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยการขาดน้ำนาน 65 วัน ทำให้ความเขียวของใบลดลง แต่ทำให้พื้นที่ใบจำเพาะเพิ่มมากขึ้น อนึ่ง ผลการทดลองบ่งชี้ว่าเทคนิคการตรวจวัดการเรืองแสงของคลอโรฟิลล์ อาจเหมาะสมในการใช้ติดตามศึกษาการตอบสนองของพืชที่มี Crassulasian acid metabolism ต่อการขาดน้ำมากกว่าเทคนิคการวัดอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊ส CO2 สุทธิเพราะสามารถแยกความแตกต่างของการตอบสนองต่อการขาดน้ำในระดับต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ทำได้สะดวก และรวดเร็วมากกว่า

คำสำคัญ : กล้วยไม้, พืช CAM, ความเครียด, การสังเคราะห์ด้วยแสง

Abstract

The effects of drought stress on chlorophyll fluorescence and net CO2 exchange rate of Vanilla planifolia Jacks. ex Andrews were studied using micropropagated vanilla plantlets transplanted ex vitro for 12 months prior to the beginning of experiment, and grown in net house with plastic roof at Department of Horiculture, Faculty of Agriculture, Kasetsart University. Completely randomized design consisted of three levels of irrigated water: 1) high water, 2) medium water, and 3) no water. On the 35th and 65th day after the start of water treatment, leaf net CO2 exchange rates were measured using Li-6400 and chlorophyll fluorescence parameters were measured using Fluorpen FP 100-MAX-LM-D during 7:00-10:00 hr., along with leaf greenness, area and weight. The results showed that vanilla is desiccation-tolerant and drought stress caused Photosystem II efficiency (Fv/Fm, Fv’/Fm’) and performance index of no water treatment leaves to decrease significantly while drought stress had no effect on net CO2 exchange rate. The reason could be that vanilla is a CAM plant which keeps stomata closed during much of day time. Moreover, while both 35 and 65 day duration of drought stress caused leaf fresh and dry weights, moisture content, and area to decrease, only 65 day of drought treatment reduced leaf greenness, but increase specific leaf area. In addition, it is noted that chlorophyll fluorescence measurement seemed to be more proper for following changes in CAM plants’ responses to drought stress than net CO2 exchange rate measurement due to its convenience, fast and ease of use and its ability to quantify differential responses drought stress treatments.

Keywords: orchid, CAM plant, stress, photosynthesis

category: news 
tag: science  plant  ภาษาไทย  publication 

Read more thoughts: