Paul Kasemsap

พรพิพัฒน์ เกษมทรัพย์

Paul Kasemsap

~wondering how plants turn air+water+dirt into food!

8 May 2013 -

The appropriate supporting material for micropropagated Vanilla planifolia Jacks. ex Andrews plantlet

วัสดุเกาะยึดที่เหมาะสมสำหรับการปลูกต้นอ่อนวานิลลาที่ได้จากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Kasemsap, P & Boonkorkaew, P. 2014. Appropriate supporting material for micropropagated Vanilla planifolia Jacks. ex Andrews plantlet. Agricultural Science Journal (Suppl.), 45(3): 333-338. [Original full text in Thai; บทความเป็นภาษาไทย]

fig1

บทคัดย่อ

การศึกษาวัสดุเกาะยึดที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ปลูกต้นอ่อนวานิลลาที่ได้จากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้สามารถใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นได้สะดวก และคุ้มค่าขึ้น ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วยการย้ายปลูกต้นอ่อนที่ผ่านการปรับสภาพแวดล้อมลงในวัสดุปลูกพีทมอส : แกลบเผา : ทรายหยาบ (1:1:1) ร่วมกับการใช้วัสดุเกาะยึด 7 ชนิด (7 สิ่งทดลอง สิ่งทดลองละ 15 ซ้ำ) ได้แก่ 1) แท่งไม้หุ้มด้วยกาบมะพร้าว (Control) 2) แท่งไม้ 3) ไม้ไผ่ 4) ท่อพลาสติก PVC 5) ตาข่ายพลาสติกม้วนหุ้มมะพร้าวสับ 6) ตาข่ายพลาสติกม้วน และ 7) แท่งไม้พันด้วยตาข่ายพรางแสงพลาสติก บันทึกข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการเกาะยึด และการเจริญเติบโตของต้นอ่อน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ชนิดของวัสดุเกาะยึดส่งผลต่อการเกาะยึด และจำนวนรากอากาศ แต่ไม่มีผลต่อจำนวนใบ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น และความสูงลำต้นของต้นอ่อนวานิลลา โดยการใช้แท่งไม้หุ้มด้วยกาบมะพร้าว ตาข่ายพลาสติกม้วนหุ้มมะพร้าวสับ และแท่งไม้พันด้วยตาข่ายพลาสติกพรางแสง ทำให้มีจำนวนต้นอ่อนที่เกาะยึดกับวัสดุสูงสุด คือร้อยละ 100, 86.7 และ 73.3 ตามลำดับ และการใช้ตาข่ายพลาสติกม้วนหุ้มมะพร้าวสับ ทำให้ต้นอ่อนสร้างรากอากาศใหม่ได้จำนวนสูงสุด ดังนั้น จึงสามารถใช้วัสดุเกาะยึดทั้ง 7 ชนิดปลูกเลี้ยงต้นอ่อนวานิลลา เนื่องจากทุกวัสดุให้ผลการเจริญเติบโตโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การเลือกวัสดุที่ทำให้มีจำนวนต้นอ่อนเกาะยึดสูง อาจเพิ่มความสะดวกในการดูแลรักษาได้

คำสำคัญ : กล้วยไม้ วัสดุปลูก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Abstract

The study of appropriate supporting materials for micropropagated Vanilla planifolia Jacks. ex Andrews plantlet consists of following steps I. transplanting acclimated plantlets into a potting media mixture of peat moss : rice husk charcoal : sand (1:1:1); II. applying 7 different supporting materials (7 treatments, 15 replications/ treatment) to the plantlets using CRD including 1) a wood stick covered with coconut husks (control), 2) a wood stick, 3) a bamboo stick, 4) a PVC pipe, 5) a plastic net roll filled with coconut husk chips, 6) a plastic net roll and 7) a wood stick covered with a shade net; and III. observing the attachment to the supporting materials as well as plantlets’ vegetative growth from March to May 2012 in total of 12 weeks. The results showed that supporting materials affected plantlets’ attachment and a number of new aerial roots generated while there was no effect on a number of leaves, stem diameters and stem lengths. The highest attachment percentages at 100%, 86.7% and 73.3% were found in the wood stick covered with coconut husks, the plastic net roll filled with coconut husk chips, and the wood stick covered with the shade net, respectively. Moreover, the plastic net roll filled with coconut husk chips results in the highest number of aerial roots. As the seven supporting materials used in this experiment shown to have no significant effect on overall plantlet vegetative growth, therefore, all of them can be used in a commercial vanilla production depending on individual growers’ preference and availability. However, using the supporting materials which gave a higher attachment rate may result in lower maintenance.

Keywords: orchid, medium, micropropagation

category: news 
tag: science  plant  ภาษาไทย  publication 

Read more thoughts: